|
ข้อมูลทั่วไปของน้ำมันหอมระเหย มาร์จอรัม |
ชื่อสามัญ |
Marjoram, Sweet |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Majorana hortensis |
ต้นกำเนิด |
France, Egypt, Morrocco |
วิธีการกลั่น |
Steam Distillation (กลั่นด้วยไอน้ำ) |
ส่วนที่ใช้กลั่น |
ดอก |
องค์ประกอบที่สำคัญ |
terp-4-ol, linalool, gamma-terpinene, sabinene, limonene, cis-sabinene hydrate, a-terpineol, carryophellene, trans sabinene, myrcene |
เข้ากันได้ดีกับ |
Lavender, Rosemary, Bergamot, Cypress, Chamomile, Tea Tree, Eucalyptus |
|
|
มาร์จอรัมเป็นพืชตระกูลมิ้นท์ น้ำมันหอมระเหยมีสีเหลืองถึงน้ำตาลอ่อน มีกลิ่นหอมค่อนข้างแรง มีคุณสมบัติช่วยบรรเทาความเครียดและกังวล และช่วยผ่อนคลายระบบประสาท ช่วยให้รู้สึกสงบ อบอุ่นและสบาย ช่วยคลายความรู้สึกไม่สบายจากอาการของโรคเบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ซึมเศร้า และอาการก่อนมีประจำเดือนของผู้หญิง (PMS) โดยช่วยคลายอาการปวดเกร็งของกล้ามเนื้อตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและรักษาสมดุลย์ของฮอร์โมนผู้ิหญิง รักษาระดับอารมณ์ คลายอาการหงุดหงิดฉุนเฉียว ลดอาการบวม บรรเทาอาการปวดต่าง ๆ ได้ด อีกทั้งยังสามารถนำไปเจือจางกับน้ำมัน Carrier Oil เพื่อนวดกล้ามเนื้อและตัว หรือใช้ 3-5 หยดสำหรับประคบร้อน เพื่อคลายอาการปวดเมื่อย หรือปวดไมเกรนได้
แนวทางที่นิยมนำไปใช้ |
- คลายอาการแปรปรวนของร่างกายและจิตใจอันเนื่องมาจากการมีประจำเดือน
- กระจายกลิ่นในอากาศเพื่อช่วยให้สงบผ่อนคลาย
- ผ่อนคลายจิตใจ บรรเทาอาการเครียด ซึมเศร้า ไมเกรน และระงับประสาท
|
ข้อแนะนำในการนำไปใช้ |
- ผสมกับลาเวนเดอร์ มาร์จอรัม เจือจางในปริมาณ 3-5% ในน้ำมัน Carrier Oil ใช้นวดบริเวณช่องท้องหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อคลายอาการที่มีสาเหตุมาจากประจำเดือน หรือหยด 2-3 หยดในอ่างอาบน้ำก็ได้
- ใช้ 2-3 หยดร่วมกับ ลาเวนเดอร์ โรมันคาโมไมล์ ใช้ประคบเย็นบริเวณศีรษะเพื่อคลายอาการปวดไมเกรน อาการปวดต่าง ๆ
|
ข้อควรระวังก่อนนำไปใช้ |
- ห้ามใช้น้ำมันหอมระเหยสัมผัสผิวหนังโดยตรง เนื่องจากความเข้มข้นของน้ำมันหอมระเหยอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้ ควรใช้ในปริมาณไม่เกิน 5%
- ไม่ควรใช้ในระหว่างตั้งครรภ์
- ห้ามใช้กับทารกอายุ 0-3 ปีแรก ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการนำไปใช้
- ไม่ควรใช้น้ำมันหอมระเหยชนิดเดิม ๆ ซ้ำติดต่อกันเกิน 6-9 สัปดาห์ เมื่อใช้ครบกำหนดควรเปลี่ยนหรือหยุดใช้ 1 สัปดาห์เพื่อให้ร่างกายปรับสภาพ
|
|
|
|
|